หน้าแรก » อาการปวดข้อตามจุดต่างๆ บอกโรคใดได้บ้าง? รู้ก่อน รักษาก่อน!

อาการปวดข้อตามจุดต่างๆ บอกโรคใดได้บ้าง? รู้ก่อน รักษาก่อน!

แม้ว่าอาการปวดข้อจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่อาการปวดที่มาจากการได้รับบาดเจ็บตามบริเวณข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย ที่ไม่ได้ดูร้ายแรงแต่อย่างใด ทำให้หลายคนเลือกที่ละเลย เมื่อตนเองรู้สึกปวดกระดูกตามข้อ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมือ ปวดนิ้ว ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อต่ออื่นๆ แต่จริงๆ แล้วอาการปวดข้ออาจจะเป็นสัญญาณเตือนบางอย่าง ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าข่ายหรือสุ่มเสี่ยงเป็นโรคแรงบางชนิด 

บทความนี้จะช่วยให้อธิบายสาเหตุเพราะอะไร ที่ทำให้ปวดข้อ อาการปวดข้อตามจุดต่างๆ เป็นอย่างไร อาการปวดข้อแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์ แนวทางการป้องกัน และวิธีรักษาอาการปวดตามข้อ เพราะการปวดข้อสามารถเกิดได้กับทุกคน และอาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างจากร่างกาย ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม

ปวดข้อ (Joint Pain)

อาการปวดข้อ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Joint  Pain เป็นอาการที่สามารถพบได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น ปวดตามข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเท้า และข้อเข่า โดยที่สาเหตุของอาการปวดข้อมีสาเหตุที่หลากหลายแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการปวดข้ออาจจะมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัวหรือโรคบางชนิด โดยโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อมีมากกว่า 100 โรค

อาการปวดข้อส่วนใหญ่มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือ ไม่สามารถเล่นกีฬาและทำกิจกรรมบางชนิดได้ หรือรบกวนเวลาพักผ่อน เนื่องจากอาการปวดตามข้อตอนกลางคืน ทั้งนี้หากผู้ป่วยละเลยอาการปวดข้อตามร่างกายไม่พยายามรักษาหรือบรรเทาอาการ จะยิ่งทำให้อาการปวดแย่ลงเรื่อยๆ และอาจจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคข้อเข่าเสื่อมในอนาคตได้

ปวดข้อเกิดบริเวณใดได้บ้าง

อาการปวดข้อนับเป็นอาการที่พบได้บ่อย และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง โดยที่อาการปวดข้อที่พบได้บ่อย มีดังนี้
 

  • ข้อเข่า
  • ไหล่และหัวไหล่
  • ข้อมือและนิ้วมือ
  • ข้อเท้าและนิ้วเท้า 
  • สะโพก
  • ข้อศอก
  • คอ

โดยที่อาการปวดข้อผู้ป่วยสามารถมีอาการปวดมากกว่า 1 จุด หรือ ปวดหลายข้อพร้อมกันในร่างกาย เช่น ปวดสะโพกและเข่า หรือ ปวดข้อมือและนิ้วมือในเวลาเดียวกัน ซึ่งการปวดข้อหลายข้อพร้อมกันอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเข้าข่ายเป็นโรครูมาตอยด์ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและหาสาเหตุของอาการปวด

ลักษณะอาการปวดข้อเป็นอย่างไร

อาการปวดข้อเป็นอาการปวดที่มีลักษณะ และบริเวณที่ปวดแตกต่างกันออกไป แต่มีลักษณะอาการปวดข้อที่สามารถพบได้บ่อย มีดังนี้ 

  • อาการปวดข้อจากการออกกำลังกาย

อาการปวดข้อที่มีสาเหตุมาจากการออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือปวดข้อเพราะได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็น ปวดข้อเท้าเพราะกระโดดบ่อยเกินไป ปวดข้อเข่าเนื่องมาจากการเดิน หรือการเล่นกีฬาที่ได้รับกระแทกมากๆ จนทำให้ข้อต่อในร่างกายได้รับการบาดเจ็บ
 

  • อาการปวดข้อที่พบร่วมกับไข้หวัด

เมื่อป่วย ไม่สบาย หรือเป็นไข้หวัด ผู้ป่วยบางรายอาจจะพบอาการปวดข้อ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร่วมด้วย แต่การปวดข้อที่พบร่วมกับไข้หวัดมักเป็นอาการปวดเมื่อยธรรมดา ที่ไม่มีการอักเสบหรือบวมแดงที่ข้อต่อ และอาการปวดข้อจะดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหายไข้
 

  • อาการปวดข้อที่มีสาเหตุมาจากโรคบางชนิด

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อที่มีสาเหตุมาจากโรคบางชนิด มักจะเป็นอาการปวดที่มีการอักเสบร่วมด้วย โดยโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นต้น 

โดยจะมีลักษณะอาการปวดข้อที่รุนแรง ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีรับประทานยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ฉีดยา และกายภาพบำบัดได้ วิธีสุดท้ายที่แพทย์เลือกจะเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการปวดข้อ

ปวดข้อเกิดจากสาเหตุใด

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าสาเหตุของการปวดข้อต่อตามร่างกาย มีสาเหตุที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดข้อที่พบได้บ่อย มีดังนี้
 

การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ

อาการปวดข้อที่พบได้บ่อย มักมีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุบริเวณข้อต่อตามร่างกาย ได้แก่ กระดูกอ่อนผิวข้อ หมอนรองข้อ เยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อต่างๆที่อยู่รอบๆข้อต่อ รวมไปถึงกระดูกหักและเคล็ดขัดยอก 

การใช้งานข้อที่มากเกินไป

การใช้งานข้อผิดวิธีและใช้งานหนักเกินไป สามารถทำให้เกิดอาการปวดข้อได้ ไม่ว่าจะเป็น การยืนบนรองเท้าส้นสูงเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงทำให้ปวดข้อเท้า การยกของที่มีน้ำหนักมากทำให้ปวดไหล่ หรือการเล่นกีฬาบางประเภทที่จำเป็นต้องใช้ข้อมือก็สามารถทำให้ปวดข้อมือได้ ทั้งนี้การใช้งานข้อที่มากเกินขีดจำกัดของร่างกายจะทำให้ปวดข้อ ยังทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของส่วนประกอบต่างๆ ภายในข้อ
 

ช่วงวัยหรืออายุที่มากขึ้น

อาการปวดข้อ แม้ว่าจะสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากการเสื่อมสภาพของอวัยวะภายในร่างกายตามกาลเวลา เมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ อวัยวะภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อต่างๆ ภายในร่างกายก็เสื่อมสภาพตามลงไปด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีอาการปวดตามข้อ 

การอักเสบติดเชื้อ

อาการปวดข้อที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด มักจะมีอาการผื่นหรือมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง และบวมแดงบริเวณข้อต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคข้อเสื่อมที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรและกิจกรรมบางชนิดได้ในที่สุด
 

โรคบางชนิด

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าโรคบางชนิดสามารถทำให้เกิดการปวดข้อตามร่างกายได้ เนื่องจากเกิดการอักเสบภายในกระดูกและข้อ และโรคที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดข้อที่พบได้บ่อย ได้แก่ การติดเชื้อภายในข้อ โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ และโรคเอสแอลอี เป็นต้น

อาการปวดข้อบอกโรคอะไรได้บ้าง

เพราะอาการปวดข้อสามารถเกิดได้จากโรคร้ายบางชนิด มาทำความรู้จักกับโรคที่สามารถทำให้เกิดการปวดบริเวณตามข้อต่อต่างๆ ภายในร่างกาย
 

1. โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) หรือ โรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อม เป็นโรคข้อที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมีสาเหตุมาจากกระดูกอ่อนที่อยู่ที่ปลายของกระดูกในข้อมีการเสื่อมสภาพ จนทำให้เกิดการแตกกร่อนของกระดูกอ่อน และทำให้เกิดอาการฝืดและปวดข้อได้ 

โดยโรคข้อเสื่อมมีสาเหตุมาจาก ความอ้วน อุบัติเหตุบริเวณข้อต่อ กล้ามเนื้อรอบข้อต่ออ่อนแรง การอักเสบของเนื้อเยื่อหุ้มข้อ และเส้นประสาทรอบข้อเสียความสามารถในการรับรู้ความรู้สึก
 

2. โรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์มีสาเหตุมาจากการสะสมของผลึกกรดยูริกตามข้อต่อ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม และแดงบริเวณข้อต่ออย่างเฉียบพลัน แม้ว่าจะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ขยับและไม่ได้รับอุบัติเหตุก็ตาม สามารถพบได้บ่อยทั้งในผู้ชายและผู้หญิงในวัยหมดประจำวันเดือน อาการของโรคเก๊าท์มักจะมีอาการปวดข้อเดียวไม่ปวดพร้อมกันหลายข้อ และมักปวดที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า
 

  1. โรคข้ออักเสบ 

โรคข้ออักเสบ (Arthriti) มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะข้ออักเสบ ไม่ว่าจะเป็น จากการติดเชื้อแบททีเรียและไวรัส การเสื่อมสภาพและสึกหรอตามอายุการใช้งาน มักมีอาการปวดเมื่อย บวม และเจ็บเมื่อกดบริเวณข้อต่อ โดยโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคข้อเสื่อม และโรครูมาตอยด์   มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ไม่สามารถทำกิจวัตรและกิจกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันได้ สำหรับผู้ป่วยที่ละลาย ไม่เข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและอันตรายถึงชีวิตได้   

  1. โรครูมาตอยด์ โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นโรคที่เกิดการอักเสบตามส่วนต่างๆ ภายในร่างกาย ไม่ใช่เพียงอาการปวดข้อเท่านั้น โดยเกิดจากที่ระบบภูคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ และไปทำลายอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของตนเอง โดยที่ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจจะถึงขั้นพิการ เนื่องจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและกระดูกรอบข้อทำให้กระดูกถูกทำลายและผิดรูป   ลักษณะอาการของโรครูมาตอยด์ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดข้อในช่วงหลังจากตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังจากที่ไม่ได้ใช้งานข้อเป็นระยะเวลานาน โดยที่อาการจะอยู่ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง หรืออาจจะทั้งวัน ตำแหน่งของข้อที่มีอาการปวดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ บริเวณข้อมือและข้อนิ้วมือ   

5. โรคแพ้ภูมิคุ้มกัน

โรคแพ้ภูมิคุ้มกัน หรือที่หลายคนเรียกว่า โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ไปทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตนเองจนเกิดการอักเสบและความผิดปกติของอวัยวะทั่วทั้งร่างกาย ไม่ใช่เพียงแค่บริเวณข้อต่อเท่านั้น โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคเอสแอลอี ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม การติดเชื้อภายในร่างกาย และแสงแดด เป็นต้น มักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 

โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการทางกล้ามเนื้อและข้อ ทำให้เกิดการปวดข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเข่า และข้อเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการบวมแดงร่วมด้วย ซึ่งมีอาการคล้ายกับโรครูมาตอยด์

ใครบ้างที่เสี่ยงเกิดอาการปวดข้อ

แม้ว่าอาการปวดข้อจะเป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยและสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดการปวดข้อได้มากกว่าคนทั่วไป ได้แก่
 

  • ผู้ที่เคยมีประวัติได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บบริเวณข้อ 
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และเป็นโรคอ้วน 
  • ผู้ที่ใช้งานกล้ามเนื้อและข้อต่อมากเกินไป
  • วัยกลางคน หรือผู้สูงอายุ 
  • โรคบางชนิด เช่น รูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ โรคภูมิแพ้ตัวเอง และโรคข้ออักเสบ เป็นต้น

อาการปวดข้อที่ควรพบแพทย์

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อ หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมทันที 

  • อาการปวดข้อเรื้อรังและปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีท่าว่าจะดีขึ้น 
  • อาการปวดข้อแบบเฉียบพลัน หลังจากที่ได้รับการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ 
  • หากมีอาการอื่นๆ ร่วมกับอาการปวดข้อ ไม่ว่าจะเป็น บวม แดง หรือปวดข้อจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เนื่องจากอาการปวดที่รุนแรง 
  • แม้ว่าจะพักการใช้งาน ทายา หรือรับประทานยาแก้ปวดแล้ว แต่อาการปวดข้อกลับไม่ดีขึ้น 

หากคุณมีอาการหนึ่งในที่กล่าวมาควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีบรรเทาอาการปวดทันทีไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นอาการปวดข้อเรื้อรัง เพราะจะทำให้การรักษายากมากกว่าเดิม

 

Bài viết liên quan

3 ยาแก้ปวด เลือกใช้ยังไงให้ถูกอาการ

3 ยาแก้ปวด เลือกใช้ยังไงให้ถูกอาการ

30/09/2021

เวลาเกิดอาการไข้ ปวดหัว ปวดตามเนื้อตัวตั้งแต่กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ลามไปจนถึงกระดูก คุณมักเลือกใช้ยาแก้ปวดตัวไหนกันบ้างคะ วันนี้ kdms มีข้อสังเกตลักษณะอาการปวดที่แตกต่างกัน ที่จะช่วยให้คุณเลือกยาให้ถูกขนานและกินได้ถูกต้อง เพื่อแก้ต้นตอของอาการปวดได้อย่างถูกจุดค่ะ ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ยาพาราเซตามอลออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง เป็นยาสามัญประจำบ้านที่พวกเราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มักเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในใจของผู้ป่วยส่วนใหญ่เวลาปวดหัว มีไข้ และครั่นเนื้อครั่นตัว ข้อควรระวัง ห้ามกินยากันไว้ก่อนจะมีไข้ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลร่วมด้วย ห้ามใช้ยาเกินขนาด ผู้ใหญ่ควรกินเว้นห่างกันทุกๆ 4 ชม. ในปริมาณ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัม หรือ 8 เม็ดต่อวัน ห้ามใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกิน 5 วัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา หากมีภาวะการทำงานของตับผิดปกติ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ ห้ามใช้ยากับคนที่แพ้ยาพาราเซตามอลเด็ดขาด อาการแพ้ยา ได้แก่ ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หากใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาดจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่อออก ถ้ามีอาการรุนแรงอาจมีอาการแสดงของภาวะตับวายเจาะเลือดพบว่ามีเอมไซม์ที่แสดงถึงการบาดเจ็บของตับ  […]

ยาถ่ายพยาธิ ตัวยาแบบใด เหมาะกับพยาธิแบบไหน

ยาถ่ายพยาธิ ตัวยาแบบใด เหมาะกับพยาธิแบบไหน

30/09/2021

ยาถ่ายพยาธิ ตัวยาแบบใด เหมาะกับพยาธิแบบไหน พยาธิ เป็นปรสิตที่สามารถอาศัยในร่างกายมนุษย์ นอกจากจะคอยแย่งอาหารแล้ว ยังทำให้เกิดการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ได้ ซึ่งหากไม่ได้กำจัดพยาธิออกไปอย่างทันท่วงทีอาจเกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต วิธีหนึ่งที่ใช้กำจัดพยาธิได้ไม่ยาก และไม่เสียค่าใช้จ่ายมากนัก ได้แก่ การรับประทานยาถ่ายพยาธิหรือฆ่าเชื้อพยาธิ ยาถ่ายพยาธิแบ่งกลุ่มตามชนิดของพยาธิ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจะเลือกว่ากินยาถ่ายพยาธิ ยี่ห้อไหนดีให้เหมาะสม ดังนี้ กลุ่มยาถ่ายพยาธิตัวกลม (Nematode) ที่นิยมใช้ในการรักษา ได้แก่ ไอเวอร์เมกติน (Ivermectin) และ มีเบนดาโซล (Mebendazole) กลุ่มยาถ่ายพยาธิใบไม้ (Trematode) ได้แก่ พราซิเควนเทล (Praziquantel) กลุ่มยาถ่ายพยาธิตัวตืด (Cestode) ได้แก่ อัลเบนดาโซล (Albendazole) ข้อควรระวังที่สำคัญสำหรับสตรีมีครรรภ์ คือ ไม่แนะนำให้ใช้ยาถ่ายพยาธิเหล่านี้ในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ Albendazole, Ivermectin และ Mebendazole ข้อมูลยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิด ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อยา ข้อบ่งใช้ กลไกการออกฤทธิ์ ขนาดใช้ยา ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์และข้อควรระวัง รวมถึงตัวอย่างยี่ห้อยาที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย ดูรายละเอียดได้ดังตาราง […]

0814724921