หน้าแรก » ยาถ่ายพยาธิ ตัวยาแบบใด เหมาะกับพยาธิแบบไหน

ยาถ่ายพยาธิ ตัวยาแบบใด เหมาะกับพยาธิแบบไหน

ยาถ่ายพยาธิ ตัวยาแบบใด เหมาะกับพยาธิแบบไหน

พยาธิ เป็นปรสิตที่สามารถอาศัยในร่างกายมนุษย์ นอกจากจะคอยแย่งอาหารแล้ว ยังทำให้เกิดการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ได้ ซึ่งหากไม่ได้กำจัดพยาธิออกไปอย่างทันท่วงทีอาจเกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต วิธีหนึ่งที่ใช้กำจัดพยาธิได้ไม่ยาก และไม่เสียค่าใช้จ่ายมากนัก ได้แก่ การรับประทานยาถ่ายพยาธิหรือฆ่าเชื้อพยาธิ ยาถ่ายพยาธิแบ่งกลุ่มตามชนิดของพยาธิ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจะเลือกว่ากินยาถ่ายพยาธิ ยี่ห้อไหนดีให้เหมาะสม ดังนี้

  1. กลุ่มยาถ่ายพยาธิตัวกลม (Nematode) ที่นิยมใช้ในการรักษา ได้แก่ ไอเวอร์เมกติน (Ivermectin) และ มีเบนดาโซล (Mebendazole)
  2. กลุ่มยาถ่ายพยาธิใบไม้ (Trematode) ได้แก่ พราซิเควนเทล (Praziquantel)
  3. กลุ่มยาถ่ายพยาธิตัวตืด (Cestode) ได้แก่ อัลเบนดาโซล (Albendazole)

ข้อควรระวังที่สำคัญสำหรับสตรีมีครรรภ์ คือ ไม่แนะนำให้ใช้ยาถ่ายพยาธิเหล่านี้ในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ Albendazole, Ivermectin และ Mebendazole

ข้อมูลยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิด

ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อยา ข้อบ่งใช้ กลไกการออกฤทธิ์ ขนาดใช้ยา ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์และข้อควรระวัง รวมถึงตัวอย่างยี่ห้อยาที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย ดูรายละเอียดได้ดังตาราง

กลุ่มยาถ่ายพยาธิตัวกลม 

ใช้สำหรับรักษาอาการติดเชื้อพยาธิตัวกลม เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้

1. ไอเวอร์เมกติน (Ivermectin)

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

Vermectin ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 6 มิลลิกรัม

  • ข้อบ่งใช้

สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ Strongyloidiasis

  • กลไกการออกฤทธิ์

ไอเวอร์เมกตินออกฤทธิ์ที่ตัวรับ Glutamate-Gated Chloride Channel ทำให้เกิดการไหลเข้าของคลอไรด์ไอออน ที่นำไปสู่การเกิดไฮเปอร์โพลาร์ไรเซชัน เป็นผลให้พยาธิเป็นอัมพาตและตาย

  • ขนาดการใช้ยา

ควรรับประทานยาไอเวอร์เมกตินก่อนอาหาร เนื่องจากอาหารอาจเพิ่มปริมาณการดูดซึมยาได้

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ Strongyloidiasis ในผู้ใหญ่ ขนาด 200 ไมโครกรัม / น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม เป็นเวลา 1-2 วัน (ผู้ใหญ่น้ำหนัก 51-65 กิโลกรัม รับประทานขนาด 6 มิลลิกรัม 2 เม็ด)

  • ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์/ข้อควรระวังในการใช้ยา

ไอเวอร์เมกตินอาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ท้องเสียได้ ไม่แนะนำให้ใช้ยาไอเวอร์เมกตินในตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

2. มีเบนดาโซล (Mebendazole)

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย
  • Fugacar ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 500 มิลลิกรัม
  • Meben ในรูปแบบยาเม็ดขนาด 100 มิลลิกรัม
  • Phiha Benzar-500 ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 500 มิลลิกรัม
  • Benda ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 500 มิลลิกรัม
  • ข้อบ่งใช้
  • สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ Toxocariasis ซึ่งเป็นพยาธิที่พบในสุนัขและแมว และสามารถติดเชื้อมายังคนได้
  • พยาธิแส้ม้า พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ และพยาธิตัวกลม
  • กลไกการออกฤทธิ์

มีเบนดาโซลออกฤทธิ์โดยยับยั้งการรวมตัวของไมโครทูบูลของพยาธิ และยับยั้งการดูดซึมของกลูโคสและและสารอาหารอื่นไปใช้ พยาธิที่ถูกฤทธิ์ของยาจะถูกขับออกผ่านอุจจาระ

  • ขนาดการใช้ยา

มีเบนดาโซลบริหารในรูปแบบของยารับประทาน ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ ในผู้ใหญ่ ขนาด 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน หรือขนาด 500 มิลลิกรัม รับประทานครั้งเดียว วันเดียว

  • ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์/ข้อควรระวังในการใช้ยา

มีเบนดาโซล อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ปวดศีรษะ มึนงง ง่วงซึมได้

กลุ่มยาถ่ายพยาธิใบไม้
ใช้ำสำหรับรักษาอาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพบได้มากในปลาน้ำจืด ผู้ที่กำลังให้นมบุตร หรือมีปัญหาดวงตา เกี่ยวกับการเกิดเม็ดสาคูที่นัยน์ตาควรหลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้

พราซิเควนเทล (Praziquantel)

  • ตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย
  • Prasikon ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 600 มิลลิกรัม
  • Praquantel ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 600 มิลลิกรัม
  • ข้อบ่งใช้

สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchiasis) ซึ่งพบมากในปลาน้ำจืด การรับประทานปลาน้ำจืดดิบ หรือปรุงไม่สุกเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้

  • กลไกการออกฤทธิ์

พราซิเควนเทลเพิ่มการไหลเข้าของแคลเซียมเข้าสู่พยาธิ ทำให้เกิดการหดตัวอย่างรุนแรงของพยาธิ นำไปสู่การเกิดอัมพาต ทำให้ชิ้นส่วนของพยาธิที่เกาะติดกับหลอดเลือดหลุดออก

  • ขนาดการใช้ยา
  • พราซิเควนเทลบริหารในรูปแบบของยารับประทาน ควรรับประทานพร้อมอาหาร โดยรับประทานทั้งเม็ด ไม่เคี้ยวหรือทำให้ยาแตก เนื่องจากยามีรสขม
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ในผู้ใหญ่ ขนาด 25 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม วันละสามครั้ง ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง เป็นเวลา 1-2 วัน หรือขนาด 40 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ครั้งเดียว วันเดียว
  • ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์/ข้อควรระวังในการใช้ยา
  • พราซิเควนเทลอาจก่อให้เกิดอาการมึนงง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องไส้แปรปรวน
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยาในสตรีให้นมบุตร และผู้ที่มีภาวะซิสติกเซอโคซิสของนัยน์ตา (หรือภาวะที่เกิดตัวอ่อนเม็ดสาคูที่นัยน์ตา) เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดการทำลายของดวงตาอย่างถาวร และนำไปสู่ตาบอดถาวรได้

กลุ่มยาถ่ายพยาธิตัวตืด
ใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิตัวตืดหมู ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานเนื้อหมูดิบ รวมถึงรักษาพยาธิใบไม้ในดับได้ด้วย ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียง โดยเฉพาะในสตรีมีครรภ์ และผู้มีรอยแผลบริเวณนัยน์ตา

อัลเบนดาโซล (Albendazole)

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย
  • Albatel ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม
  • Alben ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม
  • Falben ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม
  • Zeben ในรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน ความแรง 200 มิลลิกรัม ต่อ 5 มิลลิลิตร
  • Mesin ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม
  • CB-400 ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 400 มิลลิกรัม
  • Zenzera ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม
  • ข้อบ่งใช้
  • สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ Echinococcosis ซึ่งพบในแกะ
  • รักษาการติดเชื้อ Cysticercosis เช่น พยาธิตืดหมู ซึ่งก่อให้เกิดพิษต่อระบบประสาทซึ่งเป็นอันตราย สามารถติดเชื้อได้จากการรับประทานเนื้อหมูดิบ หรือปรุงไม่สุก รักษาร่วมกับการใช้พราซิเควนเทล
  • ใช้รักษาพยาธิ Strongyloidiasis และพยาธิใบไม้ในตับได้ด้วยเช่นกัน
  • กลไกการออกฤทธิ์

อัลเบนดาโซลยับยั้งการสังเคราะห์ไมโครทูบูลในทางเดินอาหารของพยาธิและตัวอ่อนพยาธิ ทำให้พยาธิอยู่ในสภาวะขาดไกลโคเจน รบกวนการดูดกลูโคสและการหลั่งของโคลีนเอสเตอรเรส (cholinesterase) นำไปสู่การลดการสร้าง ATP ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน ท้ายสุดทำให้พยาธิตาย

  • ขนาดการใช้ยา

อัลเบนดาโซลบริหารในรูปแบบของยารับประทาน ควรรับประทานพร้อมอาหาร

  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ ในผู้ใหญ่ ขนาด 400 มิลลิกรัม ครั้งเดียว วันเดียว
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ Strongyloidiasis ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ ใบไม้ในตับ ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง เป็นเวลา 3 วัน
  • ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์/ข้อควรระวังในการใช้ยา
  • อัลเบนดาโซล อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ มึนงง ท้องไส้แปรปรวน
  • ควรรับประทานพร้อมอาหาร เพื่อลดผลข้างเคียงของยา
  • ห้ามใช้ในผู้มีอาการแพ้ เพราะหากแพ้ยานี้มักมีอาการรุนแรงมาก

จะเห็นว่ายาถ่ายพยาธิมีหลายยี่ห้อ หลายตัวยา จะใช้ชนิดไหนขึ้นอยู่กับว่าจะใช้กำจัดพยาธิชนิดใด ทั้งยังมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้นทางที่ดีควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา

Bài viết liên quan

3 ยาแก้ปวด เลือกใช้ยังไงให้ถูกอาการ

3 ยาแก้ปวด เลือกใช้ยังไงให้ถูกอาการ

30/09/2021

เวลาเกิดอาการไข้ ปวดหัว ปวดตามเนื้อตัวตั้งแต่กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ลามไปจนถึงกระดูก คุณมักเลือกใช้ยาแก้ปวดตัวไหนกันบ้างคะ วันนี้ kdms มีข้อสังเกตลักษณะอาการปวดที่แตกต่างกัน ที่จะช่วยให้คุณเลือกยาให้ถูกขนานและกินได้ถูกต้อง เพื่อแก้ต้นตอของอาการปวดได้อย่างถูกจุดค่ะ ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ยาพาราเซตามอลออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง เป็นยาสามัญประจำบ้านที่พวกเราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มักเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในใจของผู้ป่วยส่วนใหญ่เวลาปวดหัว มีไข้ และครั่นเนื้อครั่นตัว ข้อควรระวัง ห้ามกินยากันไว้ก่อนจะมีไข้ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลร่วมด้วย ห้ามใช้ยาเกินขนาด ผู้ใหญ่ควรกินเว้นห่างกันทุกๆ 4 ชม. ในปริมาณ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัม หรือ 8 เม็ดต่อวัน ห้ามใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกิน 5 วัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา หากมีภาวะการทำงานของตับผิดปกติ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ ห้ามใช้ยากับคนที่แพ้ยาพาราเซตามอลเด็ดขาด อาการแพ้ยา ได้แก่ ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หากใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาดจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่อออก ถ้ามีอาการรุนแรงอาจมีอาการแสดงของภาวะตับวายเจาะเลือดพบว่ามีเอมไซม์ที่แสดงถึงการบาดเจ็บของตับ  […]

อาการปวดข้อตามจุดต่างๆ บอกโรคใดได้บ้าง?  รู้ก่อน รักษาก่อน!

อาการปวดข้อตามจุดต่างๆ บอกโรคใดได้บ้าง? รู้ก่อน รักษาก่อน!

30/09/2021

แม้ว่าอาการปวดข้อจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่อาการปวดที่มาจากการได้รับบาดเจ็บตามบริเวณข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย ที่ไม่ได้ดูร้ายแรงแต่อย่างใด ทำให้หลายคนเลือกที่ละเลย เมื่อตนเองรู้สึกปวดกระดูกตามข้อ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมือ ปวดนิ้ว ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อต่ออื่นๆ แต่จริงๆ แล้วอาการปวดข้ออาจจะเป็นสัญญาณเตือนบางอย่าง ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าข่ายหรือสุ่มเสี่ยงเป็นโรคแรงบางชนิด  บทความนี้จะช่วยให้อธิบายสาเหตุเพราะอะไร ที่ทำให้ปวดข้อ อาการปวดข้อตามจุดต่างๆ เป็นอย่างไร อาการปวดข้อแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์ แนวทางการป้องกัน และวิธีรักษาอาการปวดตามข้อ เพราะการปวดข้อสามารถเกิดได้กับทุกคน และอาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างจากร่างกาย ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม ปวดข้อ (Joint Pain) อาการปวดข้อ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Joint  Pain เป็นอาการที่สามารถพบได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น ปวดตามข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเท้า และข้อเข่า โดยที่สาเหตุของอาการปวดข้อมีสาเหตุที่หลากหลายแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการปวดข้ออาจจะมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัวหรือโรคบางชนิด โดยโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อมีมากกว่า 100 โรค อาการปวดข้อส่วนใหญ่มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือ ไม่สามารถเล่นกีฬาและทำกิจกรรมบางชนิดได้ หรือรบกวนเวลาพักผ่อน เนื่องจากอาการปวดตามข้อตอนกลางคืน ทั้งนี้หากผู้ป่วยละเลยอาการปวดข้อตามร่างกายไม่พยายามรักษาหรือบรรเทาอาการ จะยิ่งทำให้อาการปวดแย่ลงเรื่อยๆ และอาจจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคข้อเข่าเสื่อมในอนาคตได้ ปวดข้อเกิดบริเวณใดได้บ้าง อาการปวดข้อนับเป็นอาการที่พบได้บ่อย และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน […]

0814724921